สังเคราะห์และถอดบทเรียนจากงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝนสูงสุดของประเทศไทยด้วยแบบจำลองค่าสุดขีดกรณีกระบวนการไม่คงที่”
ชื่อทุนอุดหนุน : ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กรและพัฒนาบุคลากร งบประมาณเงินรายได้คณะวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2563
ผู้เรียบเรียง : นายชูเทพ พรรณศรี นักวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การศึกษาสีย้อมธรรมชาติเพื่อย้อมโครงสร้างต่าง ๆ ของพืช ยังจำกัดเฉพาะในเนื้อเยื่อพืชและโครโมโซม ละอองเรณูประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่แตกต่างจากโครงสร้างอื่น ๆ ของพืชที่กล่าวมา การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะคัดเลือกพืชและตัวทำละลายที่เหมาะสม ในการสกัดสีย้อมธรรมชาติเพื่อใช้ย้อมละอองเรณู จากการสกัดสีย้อมในดอกอัญชัน ดอกหางนกยูงฝรั่ง เปลือกผลแก้วมังกร และเปลือกผลมังคุด ด้วยอัตราส่วน พืช 1 กรัม ต่อน้ำหรือเอทิลแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 ปริมาณ 10 มิลลิลิตร เป็นเวลา 72 ชั่วโมง จากนั้นทำการระเหยตัวทำละลาย และผ่านกระบวนการแช่เยือกแข็งแบบสุญญากาศ แล้วนำสีย้อมธรรมชาติไปย้อมละอองเรณูของชบาพบว่า สีย้อมที่สกัดจากดอกหางนกยูงฝรั่งและเปลือกผลแก้วมังกรด้วยน้ำกลั่น มีประสิทธิภาพดีใกล้เคียงกับสีย้อมซาฟรานิน โอ เนื่องจากย้อมละอองเรณูติดสีชมพู และสีย้อมมีความโปร่งแสง ซึ่งทำให้เห็นรูปร่างของหนาม ลวดลายบนผนังชั้นเอกซีน ความหนาของชั้นเอกซีน และลักษณะของช่องเปิดได้ชัดเจนกว่าละอองเรณูที่ไม่ย้อมสี ส่วนสีย้อมที่สกัดจากพืชทั้งสี่ชนิดด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 มีประสิทธิภาพต่ำถึงพอใช้ในการย้อมสี (แสดงดังภาพ) ดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้สกัดรงควัตถุเพื่อทำเป็นสีย้อมละอองเรณู
เอกสารอ้างอิง
วิดาภา บุญพันธ์, อิสรีย์ ปั้นก้อง และธีรารัตน์ แช่มชัยพร. (2562). การสกัดสีธรรมชาติจากพืชกลุ่มแอนโทไซยานินเพื่อใช้ในการย้อมสีโครโมโซมจากปลายรากหอม. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ประจำ ปี พ.ศ. 2562 (หน้า 28-33). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จินตรา เล็กประยูร, นวลจันทร์ มัจฉริยกุล และศิริลักษณ์ เอี่ยมธรรม. (2553). สารสกัดแอนโทไซยานินจากพืชเพื่อใช้เป็นสีย้อมโครโมโซม: แหล่งที่มา ความเข้มข้น และโครงสร้างทางเคมี. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำ แพงแสน ครั้งที่ 7 ประจำ ปี พ.ศ.2553 (หน้า 1615-1623).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ฉันทนา รุ่งพิทักษ์ไชย, ลักขณา รักขพันธ์ และอลภา ทองไชย. (2555). สีย้อมเซลล์ที่สกัดจากดอกกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa L.). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ประจำ ปีงบประมาณ 2555. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. เทียมใจ คมกฤส. (2555). กายวิภาคของพฤกษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มานิต คิดอยู่. (2552). สีย้อมธรรมชาติจากฝางสำ หรับการศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อพืช. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย,1 (2), 61-69.
ยุพาพร ผลาขจรศักดิ์. (2547). การสกัดและความคงตัวของแอนโธไซยานินส์ที่สกัดได้จากเปลือกมังคุด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุจิรา ทองศรีสุข, ยอดชาย ช่วยเงิน, อลงกลด แทนออมทอง และสายัญ พันธ์สมบูรณ์. (2560). การประยุกต์ใช้สีธรรมชาติจากข้าวโพดหวานสีม่วง (Zeamays saccharata) ในการศึกษาการแบ่งเซลล์ไมโทซิสของพืช.วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น, 39(2), 34-44.
ลาวัลย์ รักสัตย์. (2539). ละอองเรณู. สำ นักพิมพ์โอเดียนสโตร์. Vol 41. No 4, July-August 2022 Plant pigment dyes for pollen staining 191.
วันเพ็ญ แก้วพุก. (2558). การศึกษาสารสกัดสีธรรมชาติจากพืชเพื่อการย้อมสีโครโมโซม สำ หรับห้องปฏิบัติการชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7 ประจำ ปี พ.ศ.2558 (หน้า1434-1442). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วิภาดา สนองราษฎร์, วิภาวี ขำ วิจิตร, วารินทร์ ยางเดิม,ปริยาภัทร เชาว์ชาญ และพัชราภรณ์ สารเสนา. (2552). การสกัดสีจากเปลือกแก้วมังกร. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 2(1), 9-16.
สุกัญญา แย้มสรวล. (2558). การศึกษาคุณสมบัติการเป็นสีย้อมธรรมชาติจากพืชเพื่อการย้อมสีเนื้อเยื่อพืชสำ หรับห้องปฏิบัติการชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7 ประจำ ปีพ.ศ.2558 (หน้า 1425-1433). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.