รศ.ดร.ชาติไทย แก้วทอง ผศ.ดร.บรรจบ วันโน
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากผลงานวิจัยเรื่อง : Rhodamine based-molecular chemosensors and molecular devices 1

ทุนสนับสนุนการวิจัย งบประมาณรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2565 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เมื่อพูดถึงทองคำแน่นอนไม่ว่าใครต่อใครก็อยากได้ แต่นอกจากเป็นเครื่องประดับแล้วทองยังมัประ โยชน์อีกมากมายซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในด้านการสร้างนาโนแมททรีเรี่ยวและเป็นตัวแคตตาลิตส์เนื่องจากมีความ เข้ากันได้กับสิ่งมีชีวิตสูง นอกจากนั้นยังมีการใช้ทองนาโนในด้านการขนส่งยา การใช้เป็นตัวตรวจวัด แต่หารู้ ไม่ว่าการสร้างทองนาโนนั้นเริ่มจากไอออนของทอง (Au3+) ซึ่งเป็นไอออนที่มีความว่องไวสูงและเป็นพิษ

การตรวจวัดและตรวจจับต้องอาศัยเทคนิคที่มีความว่องไวสูงมาก เพื่อที่จะตรวจวัดและแยกสารได้แม้ สารนั้นจะมีปริมาณน้อยๆ คณะผู้วิจัยจึงได้สร้างเครื่องมือรับโมเลกุล ที่ใช้ต้นทุนต่ำและสามารถนำไปใช้ใน สภาวแวดล้อมได้จริงและไม่ต้องอาศัยเครื่องมือขนาดใหญ่ ระบบการตรวจจับและแยกไอออนทองนั้นสร้าง จากการนำอนุพันธ์ของโรดามีนใช้เป็นตัวตรวจวัดแบบเวสสิเคิล โดยเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีไอออนทองจะ สังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลงสีและเรืองแสงชัดเจน โดยไม่มีไอออนตัวไหนที่สามารถรบกวนการตรวจวัดได้