Thanyasiriwat, T., Tongyoo, P., Saman, P., Suwor, P., Sangdee, A., & Kawicha, P. (2023). Genetic loci associated with Fusarium wilt resistance in tomato (Solanum lycopersicum L.) discovered by genome‐wide association study. Plant Breeding.

https://doi.org/10.1111/pbr.13142

รศ.ดร. อภิเดช แสงดี ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับนักวิจัยจาก หน่วยวิจัยจีโนมและโรคพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

โรคเหี่ยวเหลืองมะเขือเทศมีสาเหตุจากรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici (Fol) ส่งผลต่อการผลิตมะเขือเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนคือการใช้พันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรค ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้คัดเลือกเชื้อพันธุกรรมมะเขือเทศที่มีความต้านทานต่อรา Fol จำนวน 3 ไอโซเลต และค้นหาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิด single nucleotide polymorphisms (SNPs) ที่สัมพันธ์กับความต้านทานโรคด้วยเทคนิค Genome-wide association studies (GWAS) ทีมวิจัยสามารถคัดเลือกมะเขือเทศที่ต้านทานโรคเหี่ยวเหลืองได้จำนวน 4 สายพันธุ์ โดยไม่แสดงอาการของโรค และพบตำแหน่งของ SNP ที่เกี่ยวข้องกับความต้านทาน จำนวน 32 ตำแหน่ง ซึ่งอยู่บนโครโมโซมที่ 6 โดยยีนดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับกลไกการต้านทานต่อโรคพืช นอกจากนี้ยังพบกลุ่มของยีนต้านทาน (resistant gene) ที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งของ SNP ด้วย งานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงกลไกการต้านทานโรคเหี่ยวเหลืองในระดับโมเลกุล และสามารถพัฒนาเครื่องหมาย SNP ให้เป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกมะเขือเทศลูกผสมในโครงการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต

ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ : https://doi.org/10.1111/pbr.13142