รศ.ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับทีมวิจัยจากกรมทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและทีมวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส สำรวจและค้นพบซากดึกดำบรรพ์จระเข้จากมหายุคซีโนโซอิก สกุลและชนิดใหม่ของโลก จากเหมืองถ่านหินเชียงม่วน จ.พะเยา และเหมืองถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง จากการวิจัยสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการแสดงให้เห็นว่าตัวอย่างที่ศึกษามีลักษณะที่เก่าแก่กว่ากลุ่มจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae ซึ่งเป็นวงศ์ของจระเข้ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยจึงตั้งชื่อตัวอย่างจระเข้นี้ว่า Antecrocodylus chiangmuanensis n. gen. n. sp. หรือบรรพบุรุษของจระเข้ปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนกลาง (13-15 ล้านปี) จากการค้นพบ Antecrocodylus chiangmuanensis นี้แสดงให้เห็นว่าทวีปเอเชียเป็นแหล่งสะสมซากดึกดำบรรพ์จระเข้อย่างมากมายในสมัยไมโอซีน ซึ่งแต่เดิมถูกเพิกเฉยและประเมินค่าความหลากหลายไว้ต่ำมาก การค้นพบครั้งนี้นี่จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงและรูปแบบการอพยพที่เกิดขึ้นระหว่าง “จระเข้จากเอเชียในสมัยไมโอซีนกับจระเข้จากแอฟริกาในยุคนีโอจีน” หากมีหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์เพิ่มขึ้น
ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/08912963.2023.2278152