สังเคราะห์และถอดบทเรียนจากงานวิจัยเรื่อง อิทธิพลของกรดซิตริกต่อความเข้ากันได้ของพลาสติกชีวภาพผสมของพอลิเอทธิลีนไกลคอล-บล็อค-พอลิแลคติกแอซิด/เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช
ชื่อทุนอุดหนุน Fundamental Fund ประจําปีงบประมาณ 2566
คณะผู้วิจัย นางสาวเยาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ์ รศ.ดร.ประสงค์ สีหานาม นายธีรพล พรมโสภา และ รศ.ดร.ยอดธง ใบมาก หน่วยวิจัยพอลิเมอร์แตกสลายทางชีวภาพได้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับสมบัติเชิงความร้อน สมบัติสัณฐานวิทยา และสมบัติการต้านแรงดึงของพอลิ แอลแลคไทด์-บล็อก-พอลิเอทธิลีนไกลคอล-บล็อก-พอลิแอลแลคไทด์ (PLLA-PEG-PLLA) ผสมเทอร์โม พลาสติกสตาร์ช (TPS) ที่มีการดัดแปลง TPS ด้วย 3 %wt กรดซิตริก (CA) โดยได้ศึกษาพอลิเมอร์ผสมที่มี อัตราส่วน PLLA-PEG-PLLA/CA-TPS เท่ากับ 100/0, 90/10, 80/20 และ 60/40 (w/w) เปรียบเทียบกับพอ ลิเมอร์ผสม PLLA-PEG-PLLA/CA-free TPS พบว่าความสามารถในการเกิดผลึกของพอลิเมอร์ผสมลดลงและ เสียรภาพเชิงความร้อนเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณ TPS เพิ่มขึ้น พอลิเมอร์ผสม PLLA-PEG-PLLA/CA-TPS มีความเข้า กันได้ระหว่างเฟสที่ดีกว่าพอลิเมอร์ผสม PLLA-PEG-PLLA/CA-free TPS สมบัติการต้านแรงดึงของพอลิเมอร์ ผสมถูกปรับปรุงดีขึ้นด้วยการดัดแปลง TPS ด้วย CA สรุปได้ว่าการปรับปรุงการเสียรเชิงความร้อน, ความเข้ากันได้ระหว่างเฟส และสมบัติการต้านแรงดึงของพอลิเมอร์ผสม PLLA-PEG-PLLA/TPS ทําได้ด้วยการดัดแปลง TPS ด้วย CA
รูปที่ 1 : Stress-strain curves of (above) PLLA-PEG-PLLA/CA-free TPS and (below) PLLA-PEG-PLLA/3% CA-TPS blends for various blend ratios.
ชื่อผู้เรียบเรียง : นางสาวเยาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ์ และ รศ.ดร.ยอดธง ใบมาก
หน่วยวิจัยพอลิเมอร์แตกสลายทางชีวภาพได้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เบอร์โทรศัพท์ 043-754246
ผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.degruyter.com/document/doi/10.1515/epoly-2023-0057/html