ความเป็นมาคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยก่อกำเนิดมาจากคณะวิทยาศาสตร์ ของวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ต่อมาในปี พ.ศ.2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ดังนั้น วิทยาลัยวิชาการศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม”

การบริหารงานของคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม มีรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์เป็นผู้บริหาร ดังรายนามต่อไปนี้

1. รองศาสตราจารย์ ดร. ไพฑูรย์ สุขศรีงาม ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2523-2527
2. รองศาสตราจารย์มยุรี ภารการ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2527-2530
3. อาจารย์ ดร. อุษา กลิ่นหอม ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2530-2534
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สกล คงบุญ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2534-2537

ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ได้รับการยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสาคาม มีคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นผู้บริหาร ดังรายนามต่อไปนี้

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สกล คงบุญ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2537-2538
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุเทพ อุสาหะ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2538-2540
3. รองศาสตราจารย์ ดร. วันชัย ดีเอกนามกูล ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2540-2544
4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. เรือน สมณะ ราชบัณฑิต ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2544-2549
5. รองศาสตราจารย์ จีระพรรณ สุขศรีงาม ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2549-2553
6. ศาสตราจารย์ ดร. ลออศรี เสนาะเมือง ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2553-2556
7. ศาสตราจารย์ ดร. วิเชียร มากตุ่น ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2557-2561
8. ศาสตราจารย์ ดร. ไพโรจน์ ประมวล ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2561–ปัจจุบัน

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ มีการบริหารงานระดับภาควิชามีจำนวน 4 ภาควิชา คือ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ และมีสำนักงานเลขานุการคณะวิทยาศาสตร์ มีบุคลากรทั้งหมด 208 คน โดยมีอาจารย์ประจำทั้งหมด 152 คน และบุคลากรสายสนับสนุนทั้งหมด 56 คน มีนิสิตจำนวน 2,240 คน ประกอบด้วยปริญญาตรีจำนวน 2,063 คน และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 176 คน ในปี พ.ศ. 2565 คณะวิทยาศาสตร์ ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 27 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรระดับปริญญาตรี รวม 11 หลักสูตร ได้แก่ วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเคมี สาขานวัตกรรมทางชีวเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุล สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์ (สาขาพลังงาน และสาขาอิเล็กทรอนิกส์) สาขาพลังงานและการควบคุมระบบอัตโนมัติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ และหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ หลักสูตรระดับปริญญาโท รวม 10 หลักสูตร ได้แก่ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเคมี สาขาชีววิทยา สาขาชีววิทยาศึกษา สาขาจุลชีววิทยา สาขาคณิตศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ศึกษา สาขาวิทยาการจัดการสถิติ สาขาฟิสิกส์ สาขาพลังงาน และการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา และหลักสูตรระดับปริญญาเอก รวม 6 หลักสูตร ได้แก่ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเคมี สาขาฟิสิกส์ สาขาวิทยาการจัดการสถิติ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และธุรกิจ และสาขาบรรพชีวิน (หลักสูตรนานาชาติ)

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา
“ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”

วิสัยทัศน์ (Vision)
“เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศด้านการผลิตบัณฑิตและงานวิจัย”
คำอธิบายวิสัยทัศน์ : เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำด้านการผลิตบัณฑิต โดยวัดจากร้อยละของนิสิตที่ได้งานทำภายใน 1 ปี และมีผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตดีที่สุด 1 ใน 5 ของคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย และด้านการวิจัย โดยวัดจากร้อยละของผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ต่อจำนวนบุคลากรสายวิชาการ ดีที่สุด 1 ใน 5 ของคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย

อัตลักษณ์
นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน

เอกลักษณ์
“การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน”
คำอธิบายเอกลักษณ์ : คณะวิทยาศาสตร์เป็นศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพและเห็ดมีฤทธิ์ทางยา ศึกษาบรรพชีวิน ถิ่นนวัตกรรมไหม ใช้พลังงานทดแทน

พันธกิจ (Mission)
1. ผลิตบัณฑิตที่มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการสังคมและประเทศ
2. ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับสากล
3. ผลิตงานการบริการวิชาการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

ปณิธาน (Pledge)
มุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีคุณธรรม และจริยธรรม พัฒนาการวิจัยและบริการวิชาการที่สามารถนำความรู้และทรัพยากรท้องถิ่น มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ

ค่านิยม (Core Values)
“การเรียนรู้ตลอดชีวิต”

คุณลักษณะ (Character)
บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ มีคุณลักษณะ มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรักในองค์กร เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน มีจิตสาธารณะ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กร อยู่ร่วมกันแบบกัลยาณมิตร มีความรู้ ความสามารถในสาขาของตน และสามารถจะบูรณาการองค์ความรู้ได้ มีความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง และมีความสุภาพอ่อนโยน

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1. ผลิตบัณฑิตตรงกับความต้องการของสังคมโลก
ยุทธศาสตร์ที่ 2. สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3. ให้บริการวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีสานให้มีความโดดเด่นระดับนานาชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 5. บริหารองค์กรเพื่อความเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ

สมรรถนะหลัก (Core competency)
เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อพัฒนานวัตกรรม Expertise in study and utilization of local resources for innovation development

นโยบายในการบริหารและพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ (พ.ศ. 2561-2564)
1. มีหลักสูตรที่รองรับการพัฒนาประเทศ (หลักสูตรระยะสั้น – หลักสูตรปกติ)
2. เน้นการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะสำหรับนิสิต
3. ทุกหลักสูตรต้องมีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ระหว่างภาควิชา
คณะ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายใน
4. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ต้องมีอัตราการได้งานทำของบัณฑิตเพิ่มขึ้น และมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
5. คณะวิทยาศาสตร์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มาตรฐานและปรากฏ ในฐานข้อมูล Scopus/ISI ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของบุคลากร
6. คณะวิทยาศาสตร์ส่งเสริมให้มีผลงานวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์
7. คณะวิทยาศาสตร์มีอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 90 ของอาจารย์ทั้งหมด
8. คณะวิทยาศาสตร์มีความมั่นคงทางการเงินการคลังเพื่อรองรับการบริหารจัดการศึกษาและการ จัดการองค์กร
9. คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการรับรองเป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 1 ใน 5 ของประเทศ

โครงสร้างองค์กร

แผนกลยุทธิ์หน่วยงาน

แผนกลยุทธิ์คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2564

แผนปฏิบัติราชการหน่วยงาน

แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2564