Determination of Antioxidant Activity from Medicinal Mushroom Phellinus gilvus (Schwein.) Pat. Crude Extract” ผลงานวิจัยของ นางสาวอรทัย เสริฐศรี นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตร วท.ม.ชีววิทยา ได้รับตีพิมพ์ในวารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2566 โดยมี รศ.ดร.ขวัญุเรือน นาคสุวรณณกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดหยาบเห็ดทางการแพทย์ชนิด Phellinus gilvus (Schwein.) Pat. จากตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 3 ได้แก่ แช่ในเมทานอล เอทานอลร้อยละ 95 และต้มด้วยน้ำร้อนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทำการทดสอบด้วยวิธี ABTS DPPH และ FRAP assay การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบ ฟีนอลิกรวม และฟลาโวนอยด์เพื่อหาค่าสหสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
จากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบของเห็ด P. gilvus ที่สกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP assay มีค่าเท่ากับ 280,394.12±334.00 มิลลิกรัมเฟอรัสซัลเฟตต่อกรัมสารสกัดหยาบ ส่วนการทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS assay พบว่าสารสกัดเห็ดด้วย เมทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด มีค่า IC50 เท่ากับ 0.0688±0.0003 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 0.0373±0.0004 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ
ส่วนการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ พบว่าสารสกัดหยาบจากเห็ดที่สกัดด้วยเอทานอลมีปริมาณสารประกอบทั้ง 2 ชนิดสูงที่สุด เท่ากับ 1,224.26±1.98 มิลลิกรัมกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัดหยาบ และ 308.41±2.53 มิลลิกรัมเคอสิตินต่อกรัมสารสกัดหยาบ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบเห็ด P. gilvus พบว่าปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP assay แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS assay
This study aims to determine antioxidant activity with medicinal mushroom crude extract of Phellinus gilvus (Schwein.) Pat. The crude extracts were maceration with 2 solvents such as methanol, 95% ethanol, and with boiling water for an hour, determined by using three different assays; ABTS, DPPH, and FRAP. In addition, to analyze total phenolic and flavonoid contents from a crude extract for correlation with antioxidant activity, the results showed higher antioxidant activities with ethanolic crude extract using FRAP assay. It was found that the FRAP value = 280,394.12±334.00 mg FeSO4/g extract while DPPH and ABTS assay were found higher values from methanolic crude extract with IC50 = 0.0688±0.0003 mg/mL and 0.0373±0.0004 mg/mL respectively. On the other hand, the ethanolic crude extract presented the highest value of total phenolic and flavonoid contents at 1,224.26±1.98 mg GAE/g extract and 308.41±2.53 mg QE/g extract. The correlation analysis between antioxidant activities with total phenolic and flavonoid contents value showed a positive correlation in FRAP assay, but DPPH and ABTS assay showed results in a negative correlation
กิตติกรรมประกาศ
คณะผู้วิจัยขอขอบคุณภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาชีววิทยา) สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนสำหรับรายวิชา Special problem และอุปกรณ์ในการทำงานวิจัย และขอขอบคุณศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่เอื้อเฟื้อเครื่องมือในการปฏิบัติการทดลองทำให้โครงการวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี