ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง “An Ensemble Statistical Learning Method for Climate Research”
โดย Professor Jeong-Soo Park
Department of Statistics, Chonnam National University, South Korea
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมทานตะวัน (SC1-200) และระบบออนไลน์

ช่องทางการอบรม

ออนไซต์ ( ณ ห้องประชุมทานตะวัน (SC1-200) ) และออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom
https://us06web.zoom.us/j/86776876213pwd=WEg3RWpCSXFxdXlaRTArRlZndHdrQT09

Meeting ID: 867 7687 6213
Passcode: 467241

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปัญหาสำคัญที่กำลังส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยขนาดความรุนแรงอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ((Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC), 2007a) รายงานการประเมินสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ถึงผลของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกที่เป็นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน จนส่งผลต่อความผันผวนของสภาพอากาศ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และการเกิดภัยธรรมชาติที่มีความถี่และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อมนุษย์อย่างมาก เนื่องจากการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคตเป็นสิ่งที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น การเตรียมการรับมือของแต่ละระบบและภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ต้องใช้แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นพื้นฐาน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะสามารถนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการเกี่ยวกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) นั่นคือการนำผลวิจัยไปเป็นข้อมูลอ้างอิง

การศึกษางานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีผู้วิจัยหลากหลายศาสตร์ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ของงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหา อุปสรรค และช่องว่างของงานวิจัยในปัจจุบัน จากเหตุผลดังกล่าว ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จึงเล็งเห็นถึงประโยชน์การนำสถิติมาประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยา ดังนั้น จึงจัดโครงการบรรยายพิเศษ  เรื่อง “An Ensemble Statistical Learning Method for Climate Research” ในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางและประเด็นการนำสถิติมาประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยด้านอุตุนิยมวิทยา