สังเคราะห์และถอดบทเรียนจากงานวิจัยเรื่อง : โครงสร้างชุมชนของออสตราคอดนํ้าจืด (ครัสเตเชีย : ออสตราโคดา) ในพื้นที่ชุ่มนํ้าลุ่มนํ้าสงครามตอนล่าง
ชื่อทุนอุดหนุน : ทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ 2565
รศ.ดร.สุคนธ์ทิพย์ เศวตนลินทล
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ออสตราคอดเป็นไรน้ำที่อยู่ในกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียวกับกุ้ง กั้ง ปู คือซับไฟลัม ครัสตาเชีย (subphylum Crustacea) ตัวเต็มวัยส่วนใหญ่มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร ตัวประกอบด้วยเปลือกสองเปลือกประกบกันคล้ายหอยสองฝา สามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล และบางชนิดดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่บนบกที่เปียกชื้น ออสตราคอดเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบนิเวศแหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นผู้บริโภคขั้นที่ 1 หรือผู้ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ ชนิดและปริมาณของออสตราคอดจึงมีผลต่อพืชและสัตว์ที่เป็นอาหารของออสตราคอด ตลอดจนการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ในระบบนิเวศแหล่งน้ำ ปัจจุบันมีการนำออสตราคอดมาใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เช่น ใช้ในการศึกษาทางด้านวิวัฒนาการ ใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษารูปแบบการสืบพันธุ์ และเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ทดสอบการปนเปื้อนของสารพิษในตะกอนดิน เช่น ชุดทดสอบ OSTRACOD TOXKIT
พื้นที่ชุมนํ้าลุมนํ้าสงครามตอนลาง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแรมซาร์ไซต์ แห่งล่าสุดของประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอย่างมาก โดยเป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพทางน้ำทั้งพันธุ์สัตว์และพรรณพืชจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งวางไข่และอนุบาลปลาวัยอ่อน เป็นแหล่งอพยพเพื่อผสมพันธุ์วางไข่ของปลาจากแม่น้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก จึงเป็นพื้นที่ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของชุมชน โดยเป็นแหล่งประมงพื้นบ้านและความมั่นคงทางอาหารของคนในพื้นที่
จากการศึกษาไรน้ำออตราคอดในพื้นที่ชุมนํ้าลุมนํ้าสงครามตอนลาง ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ทำให้ค้นพบออสตราคอดเผ่าใหม่ของโลก 1 เผ่า ได้แก่ Songkhramodopsini trib. nov. สกุลใหม่ของโลก 1 สกุล ได้แก่ Songkhramodopsis gen. nov. ชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด ได้แก่ Songkhramodopsismeischi sp. nov. และ Cypris songkhramensis sp. nov. ชนิดจำเพาะถิ่นของประเทศไทย 12 ชนิด และชนิดจำเพาะถิ่นของเขตเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ชนิด การค้นพบในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ชุมนํ้าลุมนํ้าสงครามตอนลางมีความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากมีความหลากชนิดของออสตราคอดสูง และเป็นแหล่งที่อยู่ของออสตราคอดกลุ่มใหม่ของโลกและชนิดจำเพาะถิ่นด้วย การค้นพบออสตราคอดกลุ่มใหม่เพิ่มมากขึ้นนอกจากเป็นการเพิ่มข้อมูลในการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพที่แท้จริงในประเทศไทย ตลอดจนในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยังเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างยั่งยืน
เอกสารอ้างอิง
Savatenalinton, S. 2022. On Cypris songkhramensis, a new species of Ostracoda (Crustacea) from Thailand. Raffles Bulletin of Zoology. 70: 440-450.
Savatenalinton, S. 2023. Songkhramodopsis gen. nov., a new genus of Cypridopsinae (Crustacea: Ostracoda) from Thailand. Zootaxa. In press.
Savatenalinton, S. & Suttajit, M. 2016. A checklist of recent non-marine ostracods (crustacea: ostracoda) from Thailand, including descriptions of two new species. Zootaxa. 4067(1): 001-034.