ผศ.ดร.วราภรณ์ สุทธิสา รศ.ดร.ปิยะธิดา พิมพ์วิชัย
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หน่วยปฏิบัติการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น (Biodiversity and Traditional Knowledge)
งานวิจัยใหม่ : ประโยชน์ของมูลกิ้งกือกระบอกมีแบคทีเรียแอคติโนมัยซีทกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและควบคุมยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในพืช
ก่อนหน้านี้ที่เพิ่งนำเสนองานวิจัยองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติต้านเชื้อจุลชีพของสารหลั่งป้องกันตัวของกิ้งกือกระบอกยักษ์ไป ล่าสุดทีมวิจัยนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกิ้งกือกระบอกคนเดิม รศ.ดร.ปิยะธิดา พิมพ์วิชัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเป็นหนึ่งในภาคีสมาชิกของหน่วยปฏิบัติการซิสเทแมติกส์ของสัตว์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาเชื้อแบคทีเรียแอคติโนมัยซีทจากมูลกิ้งกือกระบอกชนิด 𝑇ℎ𝑦𝑟𝑜𝑝𝑦𝑔𝑢𝑠 𝑟𝑒𝑠𝑖𝑚𝑢𝑠 จากภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์ ที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและควบคุมยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในพืช พบเชื้อแบคทีเรียแอคติโนมัยซีททั้งหมด 59 ไอโซเลทในสกุล 𝑆𝑡𝑟𝑒𝑝𝑡𝑜𝑚𝑦𝑐𝑒𝑠 โดยเชื้อแบคทีเรียแอคติโนมัยซีท 54 ไอโซเลทมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน 42 ไอโซเลทมีความสามารถในการละลายฟอสเฟต 55 ไอโซเลทมีความสามารถในการสร้าง siderophore 41 ไอโซเลทมีความสามารถในการผลิตสาร IAA จากการวิเคราะห์ผลร่วมกันทั้งหมดพบว่ามี 8 ไอโซเลทที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ดี นอกจากนี้ผลการศึกษาผลการควบคุมยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในพืชยังพบว่า เชื้อแบคทีเรียแอคติโนมัยซีท 17 ไอโซเลทสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย 𝑋𝑎𝑛𝑡ℎ𝑜𝑚𝑜𝑛𝑎𝑠 𝑜𝑟𝑦𝑧𝑎𝑒 pv. 𝑜𝑟𝑦𝑧𝑎𝑒 ที่ก่อโรคขอบใบแห้งในข้าวและมีประสิทธิภาพในการยับยั้งสูงกว่าตัวยา rifampicin ที่ความเข้มข้น 100 ppm จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์และมูลค่าของมูลกิ้งกือที่สามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเกษตรได้ต่อไปในอนาคต
ติดตามผลงานวิจัยได้ที่: https://microbiologyjournal.org/plant-growth-promoting…/Sutthisa W, Paraphong W, Pimvichai P. Plant Growth-promoting Ability and Pathogen Inhibitory Effect of Actinomycetes Isolated from Fecal Pellets of the Giant Millipede 𝑇ℎ𝑦𝑟𝑜𝑝𝑦𝑔𝑢𝑠 𝑟𝑒𝑠𝑖𝑚𝑢𝑠 (Diplopoda). J Pure Appl Microbiol.
รูป: กิ้งกือกระบอกชนิด 𝑇ℎ𝑦𝑟𝑜𝑝𝑦𝑔𝑢𝑠 𝑟𝑒𝑠𝑖𝑚𝑢𝑠 จากภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์เครดิต: Pimvichai, Piyatida, Enghoff, Henrik & Panha, Somsak, 2011, A revision of the 𝑇ℎ𝑦𝑟𝑜𝑝𝑦𝑔𝑢𝑠 𝑎𝑙𝑙𝑒𝑣𝑎𝑡𝑢𝑠 group. Part 3: the 𝑇. 𝑖𝑛𝑑𝑢𝑟𝑎𝑡𝑢𝑠 subgroup (Diplopoda: Spirostreptida: Harpagophoridae), Zootaxa 2941: 47-68.
ข้อมูลจาก : Animal Systematics Research Unit, CU