สังเคราะห์และถอดบทเรียนจากงานวิจัย เรื่อง การเตรียมผงสเตอริโอคอมเพล็กซ์พอลิแลคติกแอซิดด้วยการเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่นโดยตรงที่มีศักยภาพใช้เป็นสารช่วยก่อผลึกชีวภาพสำหรับพลาสติกชีวภาพ
ชื่อทุนอุดหนุน Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2566
คณะผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ยอดธง ใบมาก และรองศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ สีหานาม
หน่วยวิจัยพอลิเมอร์แตกสลายทางชีวภาพได้ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พอลิแลคติกแอซิด (PLA) เป็นพลาสติกชีวภาพที่ที่มีการใช้วิจัยพัฒนาใช้งานมากที่สุด อย่างไรก็ตาม PLA เกิดผลึกได้ช้า ทำให้บิดเบี้ยวง่ายเมื่อสัมผัสความร้อน การเติมสารช่วยก่อผลึก (nucleating agents) จะทำให้ PLA เกิดผลึกได้มากขึ้น ในงานวิจัยทำการผลิตผงสเตอริโอคอมเพล็กซ์พอลิแลคติกแอซิด (scPLA) เพื่อใช้เป็นสารช่วยก่อผลึกที่เตรียมจากการผสมพอลิแอล-แลคติกแอซิดและพอลิดี-แลคติกแอซิดน้ำหนักโมเลกุลต่ำที่สังเคราะห์ได้จากการเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่นโดยตรง (direct polycondensation) จากกรดแอล-แลคติกและกรดดี-แลคติก ตามลำดับ พบว่าผง scPLA ช่วยให้ PLA มีการเกิดผลึกเร็วขึ้นและมากขึ้นได้ ซึ่งทดสอบด้วยเทคนิค DSC และ XRD ดังนั้นผง scPLA จึงสามารถใช้เป็นสารช่วยก่อผลึกที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ที่มีประสิทธิภาพในการใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพชนิด PLA ได้ต่อไป