รศ.ดร. อรอุมา แก้วกล้า ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แอคติโนแบคทีเรีย (Actinobacteria) เป็นแบคทีเรียแกรมบวก มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาคล้ายเชื้อรา และสามารถสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศทำให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดี และเป็นจุลินทรีย์กลุ่มสำคัญที่ผลิตสารปฏิชีวนะที่ใช้ในทางการค้า

เอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรีย (endophytic actinobacteria) เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อพืช ซึ่งจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะอาศัยอยู่กับพืชแบบส่งเสริมกัน (synergistic) และสามารถผลิตสารทุติยภูมิ (secondary metabolite) ในกลุ่มของสารปฏิชีวนะ (antibiotic) ซึ่งมีคุณสมบัติในการผลิตสารปฏิชีวนะต้านการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น ต้านเชื้อรา (antifungal) และต้านแบคทีเรีย (antibacterial) ที่ก่อโรคในมนุษย์ สัตว์ และพืช ในปัจจุบันแบคทีเรียแกรมบวกที่ก่อโรคที่สำคัญในมนุษย์ได้แก่ Staphylococcus aureus, Streptococcus  pyogenes และแบคทีเรียแกรมลบ เช่น Enterococcus,Pseudomonas aeruginosa และเชื้อดื้อยาที่มีความสำคัญมากเป็นอันดับ 1 ของโลก คือ  Methicillin resistant Staphylococcus aureus (MRSA) เป็นปัญหาที่สำคัญต่อการรักษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและพบว่าสายพันธุ์ PIP175 ซึ่งคัดแยกได้จากเนื้อเยื่อของรากพืชพื้นเมืองคือต้นแอพริคอท ที่ปลูกในประเทศออสเตรเลีย เป็นแบคทีเรียสปีชีส์ใหม่ และได้ตีพิมพ์และรายงานเป็นสปีชีส์ใหม่ของโลก โดยตั้งชื่อว่า Streptomyces phytophilus และได้ทำการศึกษาความสามารถของเชื้อสายพันธุ์นี้ในการผลิตสารปฏิชีวนะยับยั้งเชื้อก่อโรค พบว่าเชื้อ     สายพันธุ์นี้ผลิตสารปฏิชีวนะยับยั้งเชื้อ MRSA ได้ดี ซึ่งในอนาคตจะได้ทำการศึกษาถึงโครงสร้างของสารที่เชื้อนี้ผลิตขึ้น ถ้าหากเป็นสารปฏิชีวนะชนิดใหม่จะได้ทำการพัฒนาการผลิตในทางการค้า ซึ่งจะช่วยในการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาที่มีความสำคัญต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำต่อเชื้อดื้อยาชนิดนี้ได้อย่างกว้างขวางในทุกประเทศทั่วโลก

A) ลักษณะสปอร์ของ Streptomyces phytophilus  ภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด

B) ลักษณะโคโลนีที่เจริญบนอาหาร HPDA เป็นเวลา 10 วัน