วันที่ 14 กรกฎาคม 2566, บริษัท WAVE BCG และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Operations Center) เพื่อสนับสนุนโครงการคาร์บอนเครดิตและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต
ศูนย์ปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจก จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการศึกษา วิจัย และให้ความร่วมมือด้านการวิจัยกับองค์กรและหน่วยงานทั้งทางภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นการวิจัยและการดำเนินด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate action) รวมถึง ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero emissions) ภายในปี 2065
พิธีลงนาม MOU มีผู้แทนจากบริษัท WAVE BCG และคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามเข้าร่วม โดยมีผู้ลงนาม ได้แก่ นาย เจมส์ แอนดริว มอร์ CEO ของ บริษัท WAVE BCG นายกิจชาญพิชญ์ สุกังวานวิทย์ กรรมการ WAVE Exponential นายสมิธร เหลี่ยมมณี ผู้อำนวยการโครงการ ของ บริษัท WAVE BCG ศาสตราจารย์ ดร.อนงฤทธิ์ แข็งแรง รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งได้รับมอบหมายจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ประมวล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พิพัฒน์ สายทอง รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน
“เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามในการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจกร่วมกับคณาจารย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เพื่อทำงานร่วมกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น” นายเจมส์ แอนดรูว์ มัวร์ CEO ของ WAVE BCG กล่าว “ความร่วมมือนี้จะช่วยให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและทรัพยากรของเราเพื่อสร้างผลกระทบที่มีความหมายต่อการดำเนินการด้านสภาพอากาศและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”
ศูนย์ปฏิบัติการก๊าซเรือนกระจกคาดว่าจะเปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยมีแผนสำหรับความคิดริเริ่มและโครงการต่างๆ ที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต