รศ.ดร.ปิยะธิดา พิมพ์วิชัย ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัย งบประมาณเงินรายได้ คณะวิทยาศาสตร์ ปีงบประมาณ 2564
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง (biodiversity hotspot) มีความหลากหลายของถิ่นที่อยู่อาศัย ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตมีความหลากชนิด เช่นเดียวกัน หอยทากบกสกุล 𝑹𝒉𝒊𝒐𝒔𝒕𝒐𝒎𝒂 Benson, 1860 หรือที่เรียกว่า หอยงวงท่อ (snorkel snail) เป็นหอยที่มีลักษณะของเปลือกส่วนวงเวียนสุดท้ายเรียว โค้งยื่น แยกออกมา มีลักษณะคล้าย งวงช้าง และที่ด้านบนของเปลือกมีท่อขนาดเล็กยื่นออกมา หรือบางชนิดมีท่อเรียว ยาว เป็นท่อ ทางผ่านเข้าออกของอากาศ หอยงวงท่อสปีชีส์ที่พบว่ามีขอบเขตการกระจายกว้างในประเทศไทยคือ 𝑹. 𝒉𝒐𝒖𝒔𝒆𝒊 ถิ่นที่อยู่อาศัยของหอยสปีชีส์นี้คือพื้นที่ที่เป็นเขาหินปูน จากขอบเขตการกระจายที่กว้าง และความแปรผันเพียงเล็กน้อยที่พบในลักษณะของเปลือก นำมาสู่โจทย์การวิจัยในครั้งนี้ โดยการวิจัย ได้ศึกษาตัวอย่างหอยงวงท่อที่เก็บมาจากพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งการศึกษาลักษณะทาง สัณฐานวิทยาและข้อมูลดีเอ็นเอ และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการ พบว่า หอย งวงท่อภายใต้ชื่อ 𝑹. 𝒉𝒐𝒖𝒔𝒆𝒊 นั้นมีมากกว่า 1 สปีชีส์ เพราะมีการแยกออกเป็น 4 กลุ่มที่ชัดเจน 𝑹. 𝒉𝒐𝒖𝒔𝒆𝒊 มีการกระจายในภาคกลางของประเทศไทย และอีก 3 กลุ่มที่แยกออกมาเป็นสปีชีส์ใหม่ของ โลก ได้แก่ 1) 𝑹. 𝒌𝒉𝒐𝒓𝒂𝒕𝒆𝒏𝒔𝒆 Prasankok & Pimvichai, 2023 หรือหอยงวงท่อโคราช (ภาพที่ 1) พบได้ที่ จ.นครราชสีมา 2) 𝑹. 𝒏𝒂𝒌𝒘𝒂𝒏𝒈𝒆𝒏𝒔𝒆 Prasankok & Pimvichai, 2023 หรือหอยงวงท่อนา ขวาง (ภาพที่ 2) พบได้ที่ถ้ำนาขวาง จ.เพชรบุรี และ 3) 𝑹. 𝒑𝒉𝒖𝒏𝒂𝒏𝒈𝒆𝒏𝒔𝒆 Prasankok & Pimvichai, 2023 หรือหอยงวงท่อภูนาง (ภาพที่ 3) พบได้ที่ดอยภูนาง จ.พะเยา จึงสรุปได้ว่า 𝑹. 𝒉𝒐𝒖𝒔𝒆𝒊 เป็นสปีชีส์ซับซ้อน (species complex) จะเห็นว่าในประเทศไทยยังมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายสปีชีส์ที่ยังรอคอยการค้นพบและศึกษาอย่างจริงจัง
Binder2