รศ.ดร.ปิยะพร แสนสุข ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.สุรพล แสนสุข สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช นายธวัชพงศ์ บุญมา นิสิตระดับปริญญาเอก สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
พืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) มีความหลากหลายด้านชนิดสูงและมีความสำคัญถูกนำมาใช้ประโยชน์หลากหลายด้าน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านของพืชวงศ์ขิงในจังหวัดนครนายก ประเทศไทย ผลการวิจัยพบพืชวงศ์ขิง 155 ชนิด จาก 16 สกุล และ 3 เผ่า โดยเผ่า Zingibereae มีความหลากหลายของชนิดสูงสุด (120 ชนิด) รองลงมาคือ เผ่า Alpinieae (23 ชนิด) และเผ่า Globbeae (12 ชนิด) ชนิดเหล่านี้พบได้ในระบบนิเวศที่หลากหลาย เช่น ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ และอื่น ๆ การศึกษายังระบุด้วยว่าอำเภอเมืองนครนายกมีจำนวนชนิดพืชวงศ์ขิงที่พบในป่ามากที่สุด 45 ชนิด เนื่องจากมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่ามากกว่าอำเภออื่น ๆ และพบว่ามีการใช้ประโยชน์พืชวงศ์ขิงในจังหวัดนครนายกในหลากหลายด้าน เช่นใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ ใช้ในพิธีกรรมและความเชื่อ ใช้เป็นสมุนไพร อาหาร เครื่องเทศ และเพื่อการค้า ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับพืชวงศ์ขิงในระดับชนิดพืชที่ถูกต้อง ระบบนิเวศ การใช้ประโยชน์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการอนุรักษ์ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยด้านอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต
ผู้สนใจสามารถศึกษาได้ที่ : https://doi.org/10.3390/d15080904