รศ.ดร.วราภรณ์ สุทธิสา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับการระบาดของโรคพืช โดยโรคพืชเป็นอุปสรรคสำคัญในการผลิตพืชเนื่องจากมีผลกระทบต่อคุณภาพของพืชโดยตรง โดยโรคพืชสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุของพืช ปริมาณธาตุอาหารในดินที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการเข้าทำลายพืชของเชื้อจุลินทรีย์ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อสาเหตุโรคพืช ได้แก่ 𝐶𝑜𝑙𝑙𝑒𝑐𝑡𝑜𝑡𝑟𝑖𝑐𝑢𝑚 sp., 𝑅ℎ𝑖𝑧𝑜𝑐𝑡𝑜𝑛𝑖𝑎 𝑠𝑜𝑙𝑎𝑛𝑖 และ 𝑆𝑐𝑙𝑒𝑟𝑜𝑡𝑖𝑢𝑚 𝑟𝑜𝑙𝑓𝑠𝑖𝑖 เป็นต้น
การควบคุมโรคพืชในปัจจุบันยังคงนิยมใช้สารเคมีในการควบคุมเนื่องจากสะดวก และเห็นผลรวดเร็วแต่ในทางกลับกันการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้ผลิตพืช ผู้บริโภค รวมทั้งสภาพแวดล้อม ซึ่งผลกระทบดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เกิดสารเคมีตกค้างในร่างกายทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคซึ่งเป็นอันตรายทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือเกิดการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน แหล่งน้ำ นอกจากนี้การใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เชื้อสาเหตุโรคพืชเกิดการกลายพันธุ์ต่อต้านต่อสารเคมีดังกล่าวได้การควบคุมจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชโดยชีววิธีจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรเพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีจึงมีการศึกษาการพัฒนาชีวภัณฑ์จากเชื้อราปฏิปักษ์เพื่อใช้ในการควบคุมจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช ทดแทนการใช้สารเคมีการพัฒนาสูตรสำเร็จจากเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 spp. จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 spp. เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่ มีกลไกการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายกลไก ได้แก่ การสร้างสารปฏิชีวนะ การแข่งขัน การเป็นปรสิต การ ชักนําพืชให้เกิดความต้านทาน เป็นต้น ในปัจจุบันชีวภัณฑ์ของเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 spp. มีอยู่ 2 รูปแบบ หลักๆ ได้แก่ สูตรสําเร็จชนิดแห้ง และสูตรสําเร็จชนิดน้ํา การพัฒนาสูตรสําเร็จเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 𝑎𝑠𝑝𝑒𝑟𝑒𝑙𝑡𝑢𝑚 MSU007 ชนิดน้ําขึ้น ทั้งหมด 4 สูตร ในแต่ละสูตรจะมีการเติมสารป้องกันเซลล์ที่ต่างชนิดกัน ได้แก่ กากน้ําตาล 10% กากน้ําตาล 5% น้ําตาลแลกโตส 5% และน้ําตาลทรีฮาโลส 5% พบว่าทั้ง 4 สูตร ทุก อัตราการใช้ ได้แก่ 4 มิลลิลิตรต่อน้ํา 1 ลิตร 5 มิลลิลิตรต่อน้ํา 1 ลิตร และ 6 มิลลิลิตรต่อน้ํา 1 ลิตร มี ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยและยับยั้งการงอกของเม็ด sclerotium ของเชื้อรา 𝑆. 𝑟𝑜𝑙𝑓𝑠𝑖𝑖 ได้แสดงให้เห็นว่าสูตรสําเร็จชนิดน้ำของ 𝑇. 𝑎𝑠𝑝𝑒𝑟𝑒𝑙𝑙𝑢𝑚 MSU007 มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา 𝑆. 𝑟𝑜𝑙𝑓𝑠𝑖𝑖 ได้ดี และสามารถใช้ได้ง่ายและสะดวก ซึ่งการควบคุมโรคพืชโดยใช้เชื้อรา 𝑇. 𝑎𝑠𝑝𝑒𝑟𝑒𝑙𝑙𝑢𝑚 MSU007 มีศักยภาพในการสนับสนุนเกษตรยั่งยืน เนื่องจากช่วยลดการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วย เพิ่มผลผลิตของพืชได้
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : Enhancing Biocontrol Potential: Development and Efficacy Assessment of a Liquid Formulation of Trichoderma Asperellum MSU007 against Sclerotium Rrolfsii | Trends in Sciences (wu.ac.th)