ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยทางชีววิทยาของนิสิตและบุคลากร ครั้งที่ 17
ประจำปีการศึกษา 2567

วันที่ 7 มีนาคม 2568
ณ อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์ (SC3) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลักการและเหตุผล

ภาควิชาชีววิทยา มีกำหนดจัดโครงการ “การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยทางชีววิทยาของนิสิตและบุคลากร ครั้งที่ 17 ประจำปีการศึกษา 2567” ในวันที่ 7 มีนาคม 2568 ณ อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์ (SC3) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ในภาควิชาชีววิทยา ผลงานวิจัยจากนิสิตชั้นปีที่ 4 และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนิสิตชั้นปีอื่นๆ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตและนักวิจัยเพื่อนำเสนอในเวทีในระดับอาเซียนหรือระดับนานาชาติต่อไป รวมทั้งเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้กับอาจารย์ นักวิจัย และนิสิต ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป อย่างต่อเนื่องให้ได้เผยแพร่ผลงานและพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตผลงานวิชาการรับใช้สังคม

การลงทะเบียน การส่งรายละเอียดโครงงานฯ และบทคัดย่อ
วันที่ 1-26 กุมภาพันธ์ 2568

การยืนยันความถูกต้อง และแก้ไขบทคัดย่อและรายละเอียดให้เสร็จสิ้น
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2568

ลิงก์การลงทะเบียน
1. การนำเสนอแบบบรรยาย ลิงก์ลงทะเบียนสำหรับสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีทุกสาขา
https://forms.gle/xHfeYkA62AfN33fb9

2. การนำเสนอแบบโปสเตอร์ ลิงก์การลงทะเบียนสำหรับสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีทุกสาขา
https://forms.gle/E66Hudf9BmBkQEw2A

3. การนำเสนอแบบบรรยาย ลิงก์การลงทะเบียน สำหรับสำหรับนิสิต กศ.ม.วิทยาศาสตรศึกษา
https://forms.gle/NMXFFXF4kAbUirTo9

4. การนำเสนอแบบโปสเตอร์ ลิงก์การลงทะเบียน สำหรับสำหรับนิสิต กศ.ม.วิทยาศาสตรศึกษา
https://forms.gle/b5ov1CLysJcKT5ZL8

5. การประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากฐานความรู้ด้านชีววิทยา
https://forms.gle/TAxox6TEyf97t6Gr5

หมายเหตุ:

1. เรื่องที่ส่งเข้าร่วมมีเนื้อหาเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของงานในรายวิชาโครงงานฯ หรือวิทยานิพนธ์ ที่นิสิตดำเนินการวิจัย
2. ให้ตัวแทนเพียง 1 คน (1 Email) ต่อ 1 โครงงานส่งผลงานเข้าร่วม หากมีข้อสงสัยติดต่อ รศ.วรรณชัย ชาแท่น ผ่านทางอีเมล [email protected]
3. ให้ตรวจสอบประเภทที่ต้องการส่งผลงานเข้าร่วมให้ถูกต้องก่อนส่งผลงาน
4. บทคัดย่อต้องทำตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้ และบทคัดย่อต้องผ่านการตรวจและอนุญาตให้ส่งจากอาจารย์ที่ปรึกษาทุกครั้ง
5. นิสิตควรส่งงานก่อนปิดรับลงทะเบียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ไม่ควรส่งวันสุดท้ายเพื่อที่กรรมการจะได้มีเวลาตรวจงานและนิสิตปรับแก้งานได้ทันเวลา โครงการที่ดำเนินการไม่เสร็จจะถูกแยกผลงานออกจากการเสนอแบบต่างๆ เป็นแค่ติดบอร์ดร่วมงานเท่านั้น
6. ตรวจสอบความเรียบร้อยและถูกต้องของข้อมูลทุกอย่างก่อนส่งงาน หากผลงานไม่ถูกตามรูปแบบจะถูกส่งกลับเพื่อแก้ไข และนิสิตจะต้องส่งผลงานที่แก้ไขคืนภายในวันที่ 1 มีนาคม 2568
7. นิสิตที่ไม่ลงทะเบียนสมัคร ติดผลงานตามกำหนด และร่วมงานวันจัดงานจะถูกตัดสิทธิ์การประกวดทุกประเภท

คำแนะนําในการเตรียมบทคัดย่อ

บทคัดย่อ (Abstract) เป็นการสรุปผลงานวิจัยที่มีใจความเดียวกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์โดย ใช้โปรแกรม Microsoft Word พร้อมเป็นไฟล์ pdf. ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ตั้งขอบกระดาษด้านบนเป็น 3 เซนติเมตร ด้านซ้าย ด้านขวาและด้านล่างเป็น 2 เซนติเมตร ขึ้นด้วยบทคัดย่อภาษาไทยก่อน แล้วจึงตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ โดยมี รายละเอียดดังนี้

1. ชื่อเรื่อง ไม่ยาวเกิน 2 บรรทัด ใช้อักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 pt ตัวหนา ระยะบรรทัดใช้ Single จัดข้อความแบบกึ่งกลางหน้ากระดาษ

2. ชื่อผู้แต่ง ใช้อักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 pt ตัวหนา ระยะบรรทัดใช้ single จัดข้อความแบบชิด ขวา ของหน้ากระดาษ และระบุสถานที่ทำงานและที่อยู่ของคณะผู้วิจัย

3. บทคัดย่อ ให้เว้น 1 บรรทัดจากชื่อผู้แต่งภาษาอังกฤษ พิมพ์คําว่า บทคัดย่อ แล้วขึ้นย่อหน้าใหม่เป็น เนื้อหาของ บทคัดย่อภาษาไทย เมื่อจบบทคัดย่อภาษาไทยแล้ว ให้เว้น 1 บรรทัด พิมพ์คําว่า Abstract และขึ้นบรรทัดใหม่ เป็นเนื้อหาบทคัดย่อภาษาอังกฤษ คําว่า บทคัดย่อ และ Abstract ให้ใช้อักษร TH Sarabun PSK ขนาด 15 pt ตัวหนา ระยะบรรทัดใช้ single จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ เนื้อหาของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ ใช้อักษร TH Sarabun PSK ขนาด 15 pt ระยะบรรทัดใช้ single บรรทัดแรกจัดระยะเยื้องขวา 1.5 เซนติเมตร และ จัดข้อความแบบ justified ถ้ามีตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์หรืออักษรกรีก ให้ใช้อักษร symbol ขนาด 12 pt หรือขนาด ที่เท่าตัวอักษรอื่นในบรรทัดนั้น

4. คําสําคัญ ให้เว้น 1 บรรทัดจากบทคัดย่อ กําหนดคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่เกิน 4 คํา โดย เป็นคําที่ไม่ซ้ำกับชื่อเรื่อง เรียงตาตัวอักษา ใช้อักษร TH Sarabun PSK ขนาด 15 pt ระยะบรรทัดใช้ single

5. เชิงอรรถ หากสถานที่ทำงานและที่อยู่อยู่ในประเทศไทย ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หาก สถานที่ทำงานและที่อยู่อยู่ต่างประเทศ ให้ระบุเพียงภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษร TH Sarabun PSK ขนาด 12 pt ระยะบรรทัดใช้ single จัดข้อความชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ

ดาวน์โหลดตัวอย่างบทคัดย่อ