ชื่อโครงการ: การยกระดับอาชีพเกษตรกรผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสด้วยการพัฒนาทักษะอาชีพการเป็นชาวนาพึ่งพาตนเองได้ในวิถีความปกติใหม่ (new normal) ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
แหล่งทุน: โครงการพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ปี 2563 ประเภท “ทุนพัฒนาทักษะอาชีพที่ใช้ชุมชุนเป็นฐาน”กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
กลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มชาวนาและกลุ่มแรงงานคืนถิ่นเนื่องจากปัญหาโควิด-19 จำนวน 80 คน จากตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ตามที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยภัทร บุษุบาบดินทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ และคณะผู้วิจัยทั้ง 4 ภาควิชา ได้ลงพื้นที่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และไดัพบปัญหาและความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ พบว่าชาวนาและแรงงานคืนถิ่นว่างงานในตำบลหนองแสงมีความต้องการพัฒนาทักษะอาชีพ ความรู้และประสบการณ์ของการทำนาแบบพึ่งพาตนเอง จึงใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์มีความเชี่ยวชาญอยู่ เข้าไปแก้ไขปัญหาแบบตรงจุดและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งโครงการฯ นี้มีเป้าหมายที่จะ พัฒนาและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจและทักษะของการทำการเกษตรแนวใหม่แบบครบวงจร ด้วยการบูรณาการศาสตร์และภูมิปัญญาพื้นบ้านเข้ากับความรู้และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกรตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 2 ระดับ
- การเปลี่ยนแปลงของหน่วยพัฒนาอาชีพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หน่วยฯ ได้การเรียนรู้การทำงานร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย การทำงานร่วมกันเป็นทีมและการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
หน่วยฯ ได้เรียนรู้การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย การพูดภาษาชาวบ้าน การผนวกความรู้ทางวิชาการเข้ากับบริบทของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
หน่วยฯ ได้เรียนรู้ร่วมกับชุมชนในการสร้างช่องทางการขาย และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดีต่อการเป็น “ชาวนามืออาชีพ” การทำเกษตรอินทรีย์ การพึ่งพาตนเอง และการเปิดรับการเปลี่ยนแปลงการปลูกข้าวโดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ดิน การปรับสภาพดิน การคัดเมล็ดข้าว การเลี้ยงและใช้จุลินทรีย์มีประโยชน์ การทำบัญชีครัวเรือนและเศรษฐีเงินออม และ การสร้างช่องทางการขายและการตลาด
– กลุ่มเป้าหมายมีการสร้างกลุ่มพัฒนาอาชีพร่วมกันตามความสนใจเป็น 3 กลุ่มคือ
- หนองแสงเห็ด GAP (FaceBook: หนองแสงเห็ด GAP)
- สบู่สมุนไพรรำข้าว (FaceBook: สบู่สมุนไพรรำข้าว Beauty Aura.)
- ชาวนามืออาชีพ อบต.หนองแสง (FaceBook: ชาวนามืออาชีพ อบต.หนองแสง)
โดยเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์และเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปลายเดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นมา