ตามที่กระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ให้ดําเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ ภายใต้โครงการ “การสร้างชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainability for all) : การถอดบทเรียน University to Tambon (U๒T) สู่ความยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน โดยดําเนินงานในพื้นที่ จํานวน ๑๓๕ ตําบล โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ ภายใต้ชื่อโครงการ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และได้นำเสนอผลการดำเนินงานเมื่อวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2564 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ ขอนแก่น (KICE)

ข้อมูลทั่วไป

ตำบลบึงเนียมตั้งอยู่ด้านตะวันออกของอำเภอเมืองขอนแก่น ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นประมาณ 12 กิโลเมตร ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 25,770.625 ไร่ (41.233 ตารางกิโลเมตร) สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพทางเศรษฐกิจของตำบลบึงเนียมขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม โดยมีพืชหลักที่สำคัญคือ ข้าว และการปลูกผัก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
  2. เพื่อพัฒนาการเกษตรท้องถิ่น และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น แบบบูรณาการ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็น System Integrator
  3. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน

1) การพัฒนาสัมมาชีพและการสร้างอาชีพใหม่ (ยกระดับ OTOP/อาชีพอื่น ๆ)

  • การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาตราสัญญาลักษณ์
  • การอบรมเชิงปฏิบัติการการยกระดับแปลงผักสู่การท่องเที่ยวและฟาร์มออนไลน์

2) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว)

  • จัดทำฐานข้อมูลชุมชนและแปลงเกษตร โดยใช้ infographic
  • การอบรมเชิงปฏิบัติการการยกระดับแปลงผักสู่มาตรฐาน GAP (สำรวจ)

3) การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีต่างๆ)

  • พัฒนาต้นแบบโรงเรือนอัจฉริยะ (สำรวจพื้นที่)
  • พัฒนาต้นแบบ Application บึงเนียม
    • การตลาดออนไลน์ (สำรวจฐานข้อมูล)

4) การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม Circular Economy (เพิ่มรายได้หมุนเวียนให้ชุมชน)

  • พัฒนาต้นแบบ Application บึงเนียม
    • การตลาดแรงงานแปลงผักบึงเนียม (สำรวจฐานข้อมูล)
    • การวางแผนการผลิตผักบึงเนียม (สำรวจฐานข้อมูล)