เมื่อพูดถึงทองคำ แน่นอนไม่ว่าใครต่อใครก็อยากได้ แต่นอกจากเป็นเครื่องประดับแล้ว ทองคำยังมีประโยชน์อีกมากมายซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในด้านการสร้างนาโนแมททีเรียลและเป็นตัวแคตตาลิตส์ นอกจากนั้นยังมีการใช้ทองนาโนในด้านการขนส่งยา การใช้ในเทคโนยีตัวตรวจวัด สิ่งทอ และเครื่องสำอาง แต่หารู้ไม่ว่าการสร้างทองนาโนนั้นเริ่มจากไอออนของทอง (Au3+) ซึ่งเป็นไอออนที่มีความว่องไวสูงและเป็นพิษ หากหลงเหลือก็จะเป็นอันตราย
การตรวจวัดและตรวจจับต้องอาศัยเทคนิคที่มีความว่องไวสูงมาก เพื่อที่จะตรวจวัดและแยกสารได้แม้สารนั้นจะมีปริมาณน้อยๆ นางสาวปรางทิพย์ จันทร์ศรี รศ.ดร.ชาติไทย แก้วทอง และคณะ จึงได้สร้างเครื่องมือระดับโมเลกุล ที่ใช้ต้นทุนต่ำและสามารถนำไปใช้ในสภาวะแวดล้อมได้จริงและไม่ต้องอาศัยเครื่องมือขนาดใหญ่ ระบบการตรวจจับและแยกไอออนทองนั้นสร้างจากการนำอนุพันธ์ของโรดามีนไปต่อกับพอลิเมอร์เพื่อใช้เป็นตัวตรวจวัดพอลิเมอร์ฟิล์มบาง (Polymeric sensor thin films) โดยอาศัยเทคนิคการพ่นเคลือบ (Spray coating) โดยเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีไอออนทองจะสังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลงสีและเรืองแสงชัดเจน โดยไม่มีไอออนตัวไหนที่สามารถรบกวนการตรวจวัดได้ สามารถตรวจวัดทองไอออนได้ปริมาณต่ำสุดถึง 1.2 ไมโครโมลาร์ นอกจากนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยไม่เกิดเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
รูปที่ 1 แสดงกลไกการตรวจวัดทองไอออน
ในการสังเคราะห์ตัวตรวจวัดครั้งนี้ถือว่าเป็นการช่วยส่งเสริมให้เกิดแรงผลักดันต่อการผลิตและพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ๆของเทคโนโลยีตัวตรวจวัดมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถนำไปสู่การต่อยอดการสร้างตัวตรวจวัดที่หลากหลายทางด้านสาขาอื่นๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มทางเลือกต่อการใช้งานของตัวตรวจวัดที่เหมาะสมกับตัวอย่างต่างๆมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Applied Polymer Science ในปี ค.ศ. 2019
รูปที่ 2 แสดงตัวตรวจวัดพอลิเมอร์และการเปลี่ยนสี เรืองแสง เมื่อตรวจพบไออออนทอง