สังเคราะห์และถอดบทเรียนจากงานวิจัยเรื่อง : การพัฒนาวิธีการตรวจวัดและติดตามความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกล
ชื่อทุนอุดหนุน : ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทส่งเสริมการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณ
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ก๊าซเรือนกระจก เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ แต่ถ้าหากมีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศในปริมาณมาก จะเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันประเทศไทยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่น้อยมากคิดเป็นร้อยละ 0.6 ของการปลดปล่อยก๊าซชนิดนี้จากทั่วทุกประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรม และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ แล้ว
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศที่ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทย ในปีพ.ศ.2558 – 2562 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมจีโอแซท โดยการแปลงโครงสร้างข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางด้านการสำรวจข้อมูลระยะไกล ผลการวิเคราะห์ในรูปแบบแผนที่พบว่าปี พ.ศ. 2562 พื้นที่ในประเทศไทยมีความเข้มข้นและการกระจายของก๊าซ CO2 สูงกว่าปีอื่น ๆ ทั้ง 5 ปี เนื่องจากมีค่าความเข้มข้นสูงสุดเฉลี่ยรายปี เท่ากับ 412.387 PPM ผลการวิเคราะห์ตามความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุดในปี พ.ศ.2558 เท่ากับ 397.459 PPM สูงสุดในปี พ.ศ.2562 เท่ากับ 407.129 PPM ผลการวิเคราะห์ตามช่วงเวลาพบว่ามีค่าต่ำสุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2558 เท่ากับ 394.983 PPM และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าสูงสุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2562 เท่ากับ 410.546 PPM และผลการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยเชิงฤดูกาล อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน พบว่า ระดับความเข้มข้นก๊าซ CO2 เฉลี่ยรายเดือนของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในรอบ 1 ปี ตามฤดูกาล โดยช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนระดับความเข้มข้นของก๊าซ CO2 มีความผันแปรตามค่าอุณหภูมิ และช่วงฤดูฝน เป็นช่วงที่ก๊าซ CO2 ในบรรยากาศจะลดลงเนื่องจาก พืชมีอัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มมากขึ้น ก๊าซ CO2 ในชั้นบรรยากาศจึงถูกตรึงมาใช้และแปลงเป็นคาร์บอนสะสมอยู่ในรูปของเนื้อไม้
เอกสารอ้างอิง
Zhang, Y.J., & Da, Y.B. (2015). The decomposition of energy-related carbon emission and its decoupling with economic growth in China. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 41, 1255–1266. DOI: https://doi.org/10.1016/j.rser.2014.09.021
Heede, R. (2014). Tracing anthropogenic carbon dioxide and methane emissions to fossil fuel and cement producers, 1854–2010. Climatic Change, 122, 229–241. DOI: https://doi.org/10.1007/s10584-013-0986-y