วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2566

รศ.ดร.ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล อารีรัตน์ ใสส่อง อรทัย เสริฐศรี ธารทิพย์ สุปะมา เฟื่องลดา นิยะนันท์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อุทยานแห่งชาติป่าหินงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในช่วงฤดูฝนของทุกปี ดอกกระเจียว (Curcuma sessilis Gage.) และดอกปทุมมา (Curcuma alismatifolia Gagnep.) จะบาน จึงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมสถานที่ แห่งนี้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุที่ลักษณะภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติป่าหินงามมีความเหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตของเห็ด พื้นที่ดังกล่าวจึงมีความหลากชนิดของเห็ด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหลากชนิดของเห็ดในช่วงฤดูฝน ในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่งมีสภาพป่าหลายแบบ ได้แก่ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่ารุ่นสอง โดยทำการสำรวจและ เก็บเห็ดตามเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ และเส้นทางเก็บเห็ดของชาวบ้าน พบเห็ด 46 ชนิด ซึ่งจัดอยู่ใน 15 วงศ์ และ 26 สกุล โดยมี เห็ดรับประทานได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พบเห็ดพิษ เห็ดเป็นยา และเห็ดกลุ่มย่อยสลาย เห็ดส่วนใหญ่ที่พบอยู่ในวงศ์ Amanitaceae และ Boletaceae และพบในป่าดิบแล้ง ความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่ง สามารถช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้

2566_เห็ดในป่าหินงาม

ดาวน์โหลด