ถอดบทเรียนจากผลงานวิจัยเรื่อง : การศึกษาลักษณะการกําจัดเกลือของกกสองชนิด เพื่อเป็นตัวเลือกในการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม (Study Phytodesalinized Characteristics of Two Sedge Species as An Option for Saline Soil Rehabilitation)

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุน จากเงินทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566

ชื่อบทความที่ได้รับตีพิมพ์ : Assessment of salt tolerance in phytodesalination candidates: Two varieties of FimbristylisF. ferruginea and F. tenuicula

ผศ.ดร.ปิยนุช คะเณมา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากการสำรวจพื้นที่ดินเค็มในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้โดมเกลือใต้ดิน พบกก 2 ชนิด คือ หญ้าดอกแดง (Fimbristylis ferruginea)และ กกกระเทียม (Fimbristylis tenuicula) มีความสามารถในการเจริญในพื้นที่ดินเค็มจัดได้ดี และพบความสามารถในการกักเก็บเกลือไว้ในพืชได้สูง โดยเฉพาะหญ้าดอกแดงที่สามารถกักเก็บเกลือโซเดียมไว้ได้สูงถึง 504.42 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัมน้ำหนักแห้งของพืช ซึ่งความสามารถดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความสามารถในการสังเคราะห์ไซยานิดิน เพลาร์โกนิดิน และโพรลีน โดยผลงานวิจัยนี้คาดว่ามีประโยชน์ต่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มในอนาคต # Phytodesalination #EcoFriendlySolutions

การอ้างอิงบทความ: Manasathien, J., & Khanema, P. (2024). Assessment of salt tolerance in phytodesalination candidates: Two varieties of Fimbristylis—F. ferruginea and F. tenuicula. Journal of Environmental Quality, 1–13.

บทความวิจัย : https://doi.org/10.1002/jeq2.20544