หน่วยวิจัยดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนาพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การแก้ไขปัญหาดินเค็มอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มอย่างเต็มศักยภาพ เนื่องในงานวันดินโลก “พิชิตดินเค็ม เติมเต็มผลผลิต สร้างชีวิตเกษตรกร (Halt soil salinization, boot soil productivity) วันที่ 2-5 ธันวาคม 2564 ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดร้อยเอ็ด
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สร้างความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาและวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อกันขึ้น เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายสูงสุดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (paradigm shift) สู่การแก้ไขปัญหาดินเค็มอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง “การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มอย่างเต็มศักยภาพ” ในระยะแรกนี้ มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสายพันธุ์พืชเศรษฐกิจและการปลูกพืชสมุนไพรที่หลากหลาย ตลอดจนผลการศึกษาด้านจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและป้องกันโรคพืชได้ มีศักยภาพสามารถนำไป ต่อยอดและบูรณาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาดินเค็มอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต