ชื่อหลักสูตร > วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุล
อักษรย่อ> วท.บ. พันธุศาสตร์โมเลกุล 139 หน่วยกิต (โปรแกรมปกติ) หรือ 143 หน่วยกิต (โปรแกรมสหกิจศึกษา)

ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตร
สาขาวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุล เน้นศึกษาทางพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล เช่น โครงสร้างและหน้าที่ของยีน โครงสร้างและกลไกของการจำลองดีเอ็นเอ/อาร์เอ็นเอ กลไกของการซ่อมแซมดีเอ็นเอ พื้นฐานระดับโมเลกุลของการควบคุมการแสดงออกของยีน การรวมตัวกันใหม่ทางพันธุกรรม ความหลากหลายทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลและเทคโนโลยี
ด้านยีน การประยุกต์ใช้พันธุศาสตร์โมเลกุลทางด้านการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น

จุดเด่นของหลักสูตร
โดยหลักสูตรมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้าน เพื่อพัฒนาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่หลากหลาย ในสาขาวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุล เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคนิคทางพันธุศาสตร์และพันธุศาสตร์โมเลกุลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน สังคม และประเทศ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

แนวทางในการศึกษาต่อ
ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ทำการเปิดสอนสาขาวิชาพันธุศาสตร์ พันธุศาสตร์โมเลกุลและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

แนวทางในการประกอบอาชีพ
สามารถประกอบอาชีพอาจารย์ในหน่วยงานการศึกษาของภาครัฐหรือเอกชน ผู้เชี่ยวชาญ นักพันธุศาสตร์ หรือนักพันธุศาสตร์โมเลกุล นักนิติวิทยาศาสตร์ นักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ สาขาพันธุศาสตร์โมเลกุลและวิทยาศาสตร์ชีวภาพในหน่วยงานของรัฐบาลหรือเอกชน รวมถึงสถาบันวิจัยเฉพาะทาง เช่น ด้านการแพทย์ ด้านการเกษตร ด้านเทคโนโลยีอาหาร เป็นต้น และยังสามารถประกอบอาชีพอิสระตามความถนัดในสาขาวิชาที่เรียนหรือเกี่ยวข้อง