เครื่องตรวจวัดความสดของไข่ เป็นการนำเสนอเทคนิคในการตรวจวัดความสดของไข่แบบไม่ทำลาย ผ่านการตรวจวัดความหนาแน่นของไข่ ซึ่งระบบที่นำเสนอสามารถทำการคัดแยกเกรด และระบุความสดของไข่ได้แบบเวลาจริง ระบบไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย ขนาดเล็ก ต้นทุนต่ำ และมีความแม่นยำสูง สามารถนำไปใช้ในการคัดแยกเกรด และความสดของไข่ได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม รัฐวิสาหกิจชุมชน และครัวเรือน โดยการประดิษฐ์ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร หาญสูงเนินอาจารย์สังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนางสาวนวลอนงค์ เจริญสุข นิสิตเอกฟิสิกส์ประยุกต์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชื่อผลงาน และผู้ประดิษฐ์
่ผลงาน : เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นและความสดของไข่
ผู้ประดิษฐ์  : รศ.ดร.สุภกร หาญสูงเนิน และนางสาวนวลอนงค์ เจริญสุข

กล่าวถึงที่มาของการประดิษฐ์งานชิ้นนี้ขึ้นมา

เนื่องจากเครื่องตรวจวัดความสดของไข่ในปัจจุบันมีราคาสูงมาก โครงสร้างมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก มีขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่าง และตรวจวัดหลายขั้นตอน ใช้เวลาในการวิเคราะห์ที่ยาวนาน ไม่สามารถตรวจวัดไข่ได้ทุกฟอง หรือตรวจวัดได้ในปริมาณที่จำกัดเท่านั้น เนื่องจากเป็นการตรวจวัดแบบทำลาย จากข้อจำกัดดังกล่าว จึงนำมาซึ่งแนวคิดในการพัฒนาเครื่องตรวจวัดความหนาแน่น และความสดของไข่ขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำ โครงสร้างมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย สามารถตรวจวัดน้ำหนัก ความหนาแน่น และความสดของไข่ได้แบบเวลาจริง ตลอดจนเป็นการตรวจวัดแบบไม่ทำลาย 

วัตถุประสงค์ในการจัดทำสิ่งประดิษฐ์
1. เพื่อพัฒนาเครื่องตรวจวัดความหนาแน่น และความสดของไข่ ที่สามารถคัดเกรดของไข่ด้วยน้ำหนักและประเมินความสดของไข่แบบไม่ทำลายผ่านการตรวจวัดความหนาแน่นของไข่ 
2. เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของเครื่องตรวจวัดความสดของไข่ ในปัจจุบันที่มีราคาแพง โครงสร้างมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก มีขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่าง และตรวจวัดหลายขั้นตอน ใช้เวลาในการวิเคราะห์ที่ยาวนาน ไม่สามารถตรวจวัดไข่ได้ทุกฟอง หรือตรวจวัดได้ในปริมาณที่จำกัดเท่านั้นเนื่องจากเป็นการตรวจวัดแบบทำลาย

การใช้งานของสิ่งประดิษฐ์
สำหรับการใช้งานของเครื่องตรวจวัดความหนาแน่น ในการคัดเกรดของไข่ด้วยน้ำหนัก และประเมินความสดของไข่แบบไม่ทำลายผ่านการตรวจวัดความหนาแน่นของไข่โดยขั้นตอนการทำงานของเครื่องนั้น จะเริ่มจากการตรวจวัดน้ำหนักของไข่ด้วยเซนเซอร์ตรวจวัดน้ำหนัก หลังจากนั้นระบบจะนำข้อมูลน้ำหนักของไข่ที่ตรวจวัดได้ไปใช้ในการคัดแยกเกรดของไข่ตามเกณฑ์มาตรฐานในแต่ละช่วงน้ำหนักที่กำหนดไว้ ในขณะเดียวกันระหว่างที่เครื่องทำการตรวจวัดน้ำหนักของไข่อยู่นั้น ระบบจะทำการตรวจวัดขนาดและปริมาตรของไข่ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพไปพร้อม ๆ กัน หลักจากที่ได้ข้อมูลน้ำหนักและปริมาตรของไข่มาแล้ว ระบบจะทำการคำนวณหาค่าความหนาแน่นของไข่โดยใช้ข้อมูลน้ำหนักและปริมาตรที่ตรวจวัดได้ดังกล่าว ความหนาแน่นของไข่ในแต่ละฟองที่คำนวณได้จะถูกส่งไปคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ความสดตามแบบจำลองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น หลักจากนั้นข้อมูลน้ำหนัก ขนาด ปริมาตร ความหนาแน่น และเปอร์เซ็นต์ความสดของไข่ที่ผ่านการตรวจวัดจะถูกบันทึกและส่งไปแสดงผลที่หน้าจอแสดงผลของคอมพิวเตอร์


จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์ 
สำหรับจดเด่นของเครื่องตรวจวัดความหนาแน่น และความสดของไข่นั้น มีต้นทุนที่ต่ำ โครงสร้างมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย สามารถตรวจวัดน้ำหนัก ความหนาแน่น และความสดของไข่ได้ เป็นการตรวจวัดแบบไม่ทำลาย สามารถคัดเกรด และประเมินความสดของไข่ได้แบบเวลาจริง

ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงาน
ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานสำหรับสิงประดิษฐ์ เครื่องตรวจวัดความหนานแน่นและความสดของไข่นั้น ยังไม่สามารถตรวจวัด และประเมินความสดของไข่ บนระบบสายพานลำเลียงได้แบบอัตโนมัติที่ระดับความแม่นยำสูงได้

ในอนาคตจะมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์อย่างไรบ้าง 
ในอนาคตตนเองต้องการจะพัฒนา เครื่องตรวจวัดความหนาแน่น และความสดของไข่ให้สามารถตรวจวัด และคัดแยกไข่ได้แบบอัตโนมัติ ซึ่งประกอบด้วยระบบลำเลียง ระบบตรวจวัด ระบบคัดแยก และระบบพิมพ์ฉลาก  ให้มีการใช้งานที่ครบ และสมบูรณ์แบบต่อไป
งบประมาณในการจัดทำสิ่งประดิษฐ์
งบประมาณในการประดิษฐ์เครื่องตรวจวัดความหน้าแน่นและความสดของไข่ใน มีการใช้งบประมาณอยู่ที่ชุดละ 10,000 บาท

มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนอย่างไร 
ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ให้การสนับสนุนสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย และทุนวิจัยในการพัฒนา และวิจัย  อย่างมากสำหรับในการคิด สร้าง ประดิษฐ์เครื่องตรวจวัดความหนาแน่น และความสดของไข่ให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง

มีแผนการนำสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ลงสู่ชุมชนอย่างไร
เมื่อพัฒนาเครื่องให้มีความแม่นยำ และเสถียรภาพที่ดีแล้ว มีแผนที่จะนำเครื่องที่พัฒนาดังกล่าวนี้ไปแนะนำ และถ่ายทอดสู่ชุมชน เพื่อใช้เป็นวิธีการทางเลือกหนึ่ง ในการคัดแยก และตรวจประเมินคุณภาพ และความสดของไข่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานของไข่ให้คงที่ ตลอดจนสามารถใช้ข้อมูลที่ทำการตรวจวัด และจัดเก็บในฐานข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของไข่ที่ทำการผลิตได้ต่อไปในอนาคต  

ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน
จะว่าไปแล้วผมเองก็ยังไปไม่ถึงจุดที่จะสามารถแนะนำ หรือฝากอะไรไปถึงน้อง ๆ ได้ หากแต่อยากจะเชิญชวนน้องๆ นักวิจัยรุ่นใหม่มาสรรค์สร้างงานวิจัย หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์และสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม และชุมชนได้ 
คติในการทำงาน     ความพยายามครั้งที่ 100 ดีกว่าคิดท้อถอยก่อนที่จะทำ

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ไหน
สำหรับผู้ที่สนใจเครื่องวัดความหนาแน่นและความสดของไข่นั้นสามารถติดต่อมายังหน่วยจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือหน่วยวิจัยนวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อความยั่งยืนทางการเกษตร สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โดยผลงานวิจัยได้รับการจดอนุสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เนื้อข่าว / ภาพ : สาร MSU Online
http://www.msu.ac.th/msumagaz/smain/readpost.php?mid=235