ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
อักษรย่อ วท.บ. ฟิสิกส์ประยุกต์
ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตร
เป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมความรู้ด้านวิชาการทางด้านพื้นฐานวิทยาศาสตร์และพื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ นอกจากนี้หลักสูตรยังเน้นให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ดังนี้ 1) มีความรู้ความเชี่ยวชาญสำหรับการออกแบบและควบคุมเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรม 2) มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับใช้ในเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ และ 3) สามารถประยุกต์องค์ความรู้มาจัดการเกี่ยวกับระบบอัจฉริยะในด้านการเกษตร ชุมชน เป็นต้นได้

จุดเด่นของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่สอนให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานอย่างเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทางด้านฟิสิกส์ ทำให้บัณฑิตที่จะจบออกไปสามารถประกอบวิชาชีพด้านการสอน และศึกษาต่อในระดับบัณฑิตหรือต่อยอดทำงานวิจัยได้ ที่สำคัญคือ หลักสูตรเน้นให้บัณฑิตที่จะจบออกไปสามารถมีวิชาติดตัวที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ คือ ผลิตบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญการออกแบบและควบคุมเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมซึ่งแนวโน้มในโรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนมาเป็นใช้เครื่องจักรแทน ดังนั้นแนวโน้มความต้องการบัณฑิตที่มีทักษะทางด้านนี้มีความต้องการสูงมากและอัตราค่าตอบแทนค่อนข้างสูง นอกจากนี้เทคโนโลยีที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ ระบบอิเล็กทรอนิคส์ ระบบทำความร้อน หรือระบบทำความเย็น ต่าง ๆ ล้วนต้องใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในการทำให้ระบบทำงาน สำหรับประเทศไทยผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้มีค่อนข้างน้อย ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการออกแบบอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานได้ และนอกจากนี้หลักสูตรยังเน้นไปที่ให้บัณฑิตที่จะจบออกไปสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาจัดการเกี่ยวกับระบบอัจฉริยะโดยเฉพาะทางด้านการเกษตรที่จะลดการใช้แรงงานคนลงเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการแข็งขันในเชิงพาณิชย์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและต้องผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถตาม
ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

แนวทางในการศึกษาต่อ
ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ทําการเปิดสอนสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ประยุกต์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ หรือประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น
นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ครู/อาจารย์ ตํารวจ ที่สามารถเข้าทํางานได้ เช่น บริษัทที่ใช้เครื่องจักรกลในการผลิต
(เกือบทุกบริษัท) บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเครื่องปรับอากาศ ระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อน และบริษัท
ที่ผลิตเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ กองพิสูจน์หลักฐาน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กระทรวงพลังงาน อาจารย์ในวิทยาลัยอาชีวะและเทคนิค ครูในสถาบันรัฐและเอกชน เป็นต้น