RESEARCH HIGHLIGHT

เห็ดพิษชนิดอะไร? ตรวจสอบด้วยนวัตกรรม Application บนโทรศัพท์มือถือ ยุคไทยแลนด์ 4.0

บทความโดย : รศ.ดร.ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล ในปี พ.ศ. 2562 (เดือนมกราคม-เดือนกันยายน) มีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเห็ดพิษที่มาจากป่าธรรมชาติมากถึง 1,176 ราย และมีรายงานการเสียชีวิต 3...

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มมส ค้นพบ”แอคติโนแบคทีเรียสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก และการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และการเกษตร”

แอคติโนแบคทีเรียหรือแอคติโนมัยซีท คือ แบคทีเรียแกรมบวก บางสกุลสร้างสปอร์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีคล้ายคลึงกับเชื้อรา เอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรีย (endophytic actinobacteria) คือ แอคติโนแบคทีเรียที่อาศัยที่อยู่ในเนื้อเยื่อพืชโดยไม่ก่อให้เกิดโทษ ในทางตรงกันข้ามจุลินทรีย์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้หลากหลายชนิด เช่น สารปฏิชีวนะ สารต้านมะเร็ง สารต้านเบาหวาน สารลดอาการอักเสบ และสารกดภูมิคุ้มกัน...

ไลเคน…ชนิดใหม่ของโลกและดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ

รองศาสตราจารย์ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุลภาควิชาชีววิทยาและพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไลเคน คือ สิ่งมีชีวิตสองชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย (symbiosis) ไลเคนกําเนิดจากราและสาหร่ายท่ีมีความเฉพาะเจาะจงชนิดต่อกันเท่านั้น (คล้ายกับเนื้อคู่หรือ soulmate) ราสามารถจับคู่กับสาหร่ายสีเขียว (green...

อุปกรณ์กำเนิดลำพลาสมาแบบหลายลำพ่นที่ดำเนินการได้ในสภาวะความดันหนึ่งบรรยากาศ

ผศ.ดร.อาทิตย์ ฉิ่งสูงเนิน และคณะ ได้ทำการพัฒนาหัวกำเนิดพลาสมาเจ็ตที่ความดันบรรยากาศรูปแบบต่างๆ เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับงานเคลือบผิว (plasma surface coating) หรือปรับปรุงผิว (plasma surface modification) โดยใช้หลักการปล่อยแก๊สให้ไหลผ่านขั้วไฟฟ้าที่มีลักษณะเป็นรูเล็กๆ ที่บริเวณดังกล่าวต้องทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้าด้วยแอมปลิจูดและความถี่สูง โมเลกุลของแก๊สที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงผ่านรูเล็กจะเกิดการชนกันเองมากขึ้น ในขณะเดียวกันอิเล็กตรอนที่ถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าให้เคลื่อนที่กลับไปกลับมาจะชนกับโมเลกุลของแก๊สด้วยความถี่สูงด้วยเช่นกัน...

ผลงานวิจัย “แบบจำลองวัสดุแม่เหล็กระดับอะตอมและการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลเชิงแม่เหล็ก”

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณวดี จุรีมาศ สังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทำการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านฟิสิกส์มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีบันทึกข้อมูลเช่น การออกแบบหัวอ่าน หัวเขียน แผ่นบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสไดร์ฟ การออกแบบอุปกรณ์หน่วยความจำเข้าถึงแบบสุ่มเชิงแม่เหล็ก (Magnetoresistive random access memory, MRAM)...

พันขามหาสมบัติ

กิ้งกือ เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มสัตว์ขาปล้อง (arthropod) พวกเดียวกับ แมลง กุ้ง ปู และแมงมุม ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก กิ้งกือเป็นสัตว์ที่มีขาจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งชื่อเรียกในภาษาอังกฤษคือ millipedes...

ไมโครเวฟเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดความเข้มข้นของน้ำตาล

น้ำตาล (sugar) เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) และไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) ซึ่งมีอยู่ในพืช ผลไม้ อาหาร และเครื่องดื่มต่าง ๆ...

“หอยทากบกชนิดใหม่ของโลก”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ และอาจารย์ ดร. ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบหอยทากบกชนิดใหม่ของโลก การค้นพบในครั้งนี้ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Raffle Bulletin of Zoology...