ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา จุรีมาศ หัวหน้าหน่วยวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณวดี จุรีมาศ สมาชิกหน่วยวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภกร หาญสูงเนิน สมาชิกหน่วยวิจัย
อาจารย์ ดร.สุชาติ โอษคลัง สมาชิกหน่วยวิจัย
ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ประมวล คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Agreement, MOA) กับบริษัท ซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อการจัดตั้ง“หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแม่เหล็ก Magnetic Information Storage Technology (MINT) research unit” ภายใต้การดูแลของ ผศ.ดร. เจษฎา จุรีมาศ และ รศ.ดร.พรรณวดี จุรีมาศ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ การจัดตั้งหน่วยวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภาคฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี ที่มีมาอย่างเข้มแข็งแต่ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้ทางฟิสิกส์เชิงลึกมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลผ่านรูปแบบจำลองการคำนวณทางคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรและนิสิตที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา จุรีมาศ หัวหน้าหน่วยวิจัย
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณวดี จุรีมาศ สมาชิกหน่วยวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภกร หาญสูงเนิน สมาชิกหน่วยวิจัย
อาจารย์ ดร.สุชาติ โอษคลัง สมาชิกหน่วยวิจัย
ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ประมวล คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Agreement, MOA) กับบริษัท ซีเกทเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อการจัดตั้ง“หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแม่เหล็ก Magnetic Information Storage Technology (MINT) research unit” ภายใต้การดูแลของ ผศ.ดร. เจษฎา จุรีมาศ และ รศ.ดร.พรรณวดี จุรีมาศ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ การจัดตั้งหน่วยวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างภาคฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี ที่มีมาอย่างเข้มแข็งแต่ต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งมีเป้าหมายในการนำองค์ความรู้ทางฟิสิกส์เชิงลึกมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลผ่านรูปแบบจำลองการคำนวณทางคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรและนิสิตที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก